
นิทานพื้นบ้าน เป็นรูปแบบของการเล่าเรื่องราวที่บรรพบุรุษแต่งและเล่าสืบทอดต่อ ๆ กันมา มีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง และผลพลอยได้จากการฟังนิทานคือการได้รับข้อคิดและคติธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ฉะนั้น ในอดีตนิทานจึงมีบทบาทในการขัดเกลานิสัยของอนุชนอีกส่วนหนึ่งด้วย
ปัจจุบันความบันเทิง และความก้าวหน้าทางวิทยาการ ทำให้มนุษย์สร้างสิ่งที่ให้ความ จึงมีผู้นำเอานิทานพื้นบ้านมาสร้างเป็นภาพยนตร์ โทรทัศน์ ในรูปแบบของการเสนอคติธรรมรูปแบบใหม่ เพื่อสอดคล้องกับความเจริญทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน นอกจากนี้นิทานพื้นบ้านยังมีความสำคัญ ต่อการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะนิทานพื้นบ้านได้แทรกวิถีชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของชาวบ้านไว้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมพื้นบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าบทบาทของนิทานพื้นบ้าน ในปัจจุบันจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี
นิทานพื้นบ้านอีสาน เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของสังคมชาวอีสานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชนะภัยธรรมชาติ คือ ความแห้งแล้ง การอพยพย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัย ความเชื่อและความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา การยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญา เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นที่จดจำสืบทอดกันมาจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง หากเรื่องราวดังกล่าวไม่ได้รับการสืบทอด หรือบันทึกไว้ มรดกภูมิปัญญาเหล่านี้ก็จะหายไปจากสังคม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน
ความหมายของนิทานพื้นบ้าน
คำว่า นิทาน หมายถึง เรื่องที่เล่ากันมา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 588)
นิทานถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ กล่าวคือ มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วยวิธีการจดจำและเล่าสืบต่อกันมา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้แล้ว ดังนั้น นิทานจึงเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและความพอใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟัง ซึ่งนิทานเหล่านี้จะปรากฏในสังคมพื้นบ้านท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย จึงเรียกว่า “นิทานพื้นบ้าน”
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
1. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา เป็นภาษาร้อยแก้ว ไม่ใช่ร้อยกรอง
2. เล่ากันด้วยปากต่อปากสืบมาเป็นเวลาช้านาน แต่ต่อมาอาจใช้การเขียนขึ้นตามเค้าเดิมที่เคยเล่าด้วยปากเปล่า
3. ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมเป็นใคร อ้างแต่ว่าเป็นของเก่า
ประเภทนิทานพื้นบ้าน นิยมแบ่งตามรูปแบบของนิทาน ดังนี้
1. เทพนิยาย เป็นนิทานที่แพร่หลายมากที่สุด ลักษณะที่สำคัญของเทพนิยาย คือ ตัวละครจะต้องผจญภัย มีของวิเศษ หรือมีปาฏิหาริย์มากมาย ตัวละครมักเป็นเจ้าหญิง เจ้าชาย
2. นิทานชีวิต เป็นนิทานที่เชื่อว่าเป็นความจริง
3. นิทานวีรบุรุษ เป็นนิทานที่กล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นวีรบุรุษของท้องถิ่น โดยเชิดชูในเรื่องความกล้าหาญ ความสามารถในการปกครองบ้านเมือง
4. นิทานประจำถิ่น เป็นนิทานที่เกี่ยวข้องกับชื่อสถานที่ มักกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสถานที่ ความเชื่อ เรื่องลึกลับ ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
5. นิทานอธิบายเหตุ เป็นนิทานที่พยายามอธิบายสิ่งที่มนุษย์สงสัยและหาคำตอบไม่ได้
6. ตำนานและเทวปกรณ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรม ในสมัยโบราณ
7. นิทานสัตว์ เป็นนิทานที่มีสัตว์เป็นตัวเอก และเป็นตัวจำลองพฤติกรรมของมนุษย์
8. นิทานมุขตลก เป็นเรื่องตลกเพื่อความสนุกสนานและได้แง่คิด
9. นิทานคติ เป็นนิทานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดคำสอน เช่น การทำดี
10. นิทานเข้าแบบ เป็นนิทานที่มีแบบสร้างพิเศษ เช่น สามารถเล่าต่อกันเป็นลูกโซ่
ตัวละครในนิทานพื้นบ้าน
ตัวละคร อาจเป็นเทวดา ผี มนุษย์ หรือสัตว์ก็ได้ จุดมุ่งหมายของตัวละคร คือต้องการให้แง่คิดแก่ผู้ฟังในสิ่งดีและไม่ดี
บทบาทของนิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านที่เล่า ๆ สืบต่อกันมา มีบทบาท ดังต่อไปนี้
1. เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน ทั้งผู้เล่าและผู้ฟังจะได้รับความเพลิดเพลิน
2. เพื่อจุดมุ่งหมายแฝงเร้นแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่ปรารถนาของสังคมเพื่อให้สังคมนั้น ๆ ได้นำไปประพฤติปฏิบัติ เช่น กรรมและกฎแห่งกรรม ความกตัญญูกตเวที การระมัดระวังคำพูด ความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นต้น
3. เพื่อการศึกษา เป็นเรื่องที่เน้นให้เห็นความสำคัญของการศึกษา
4. เพื่อเหตุผลในการประกอบพิธีกรรม ให้เห็นความสำคัญของพิธีกรรมว่าพิธีกรรมที่สังคมประพฤติปฏิบัติ นั้น มีความสำคัญต่อชุมชนอย่างไร
5. เพื่อระบายความเก็บกดต่าง ๆ
6. เพื่อบันทึกประเพณี ศาสนา คติความเชื่อ
นิทานพื้นบ้าน เรื่องพญาคันคาก (คางคก)
ที่มาของเรื่อง เชื่อกันว่าเป็นเรื่องชาดก และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อใช้ในพิธีขอฝน
ต้นฉบับ เป็นคัมภีร์ใบลานได้มาจากวัดโจดนาห่อม ต. คลีกลิ้ง อ. ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2535
เรื่องย่อ
พระนางแก้วเทวี มเหสีแห่งพญาเอกราชเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณเหลืองอร่ามดั่งทองคำ แต่ว่ามีผิวหนังดุจคางคก และในวันที่พระกุมารประสูติ เกิดอัศจรรย์ ขึ้นบนพื้นโลก ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เปรี้ยงปร้าง ลมพายุพัดต้นไม้หักล้มระเนระนาด เสียงดังสนั่นหวั่นไหวราวกับว่าโลกจะถล่มทลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญลงมาเกิด พระยาเอกราชได้จัดหาหญิงสาว ที่มีลักษณะดี เช่น มีถันเต่งตึงกลมงาม มาเป็นแม่เลี้ยงนางนมแก่พระกุมาร เมื่อพระกุมารเจริญวัยเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ก็คิดอยากจะได้คู่ครอง และอยากได้ปราสาทเสาเดียวไว้เป็นที่ประทับ จึงเข้าเฝ้าและทูลขอให้ พระบิดาช่วย ฝ่ายบิดาเห็นว่าพระโอรสของตนมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากคนทั่วไป คงไม่มีหญิงใดปรารถนาจะได้เป็นคู่ครอง จึงทรงบอกให้พระกุมารเลิกล้มความคิดเช่นนั้นเสียโดยให้เหตุผลว่าพระกุมารมีรูปร่างอัปลักษณ์ ทำให้พระกุมารเสียพระทัยยิ่งนัก
ต่อมาในกลางดึกสงัดของคืนวันหนึ่ง พระกุมาร จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนเคยได้สร้าง สมบุญบารมีมา ก็ขอให้สำเร็จดังความปรารถนาด้วยเถิด ด้วยแรงอธิษฐานทำให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้างขึ้น พระอินทร์จึงลงมาเนรมิตปราสาทเสาเดียวอันงดงามหาที่เปรียบไม่ได้ พร้อมด้วยข้าทาสบริวาร เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยทิพย์ปานประหนึ่งเมืองสวรรค์ และยังได้เอานางแก้วจากอุดรกุรุทวีปมามอบให้เป็นคู่ครอง ก่อนจาก ได้เนรมิตพระกุมาร ให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พญาเอกราชเห็นประจักษ์ในบุญบารมีของลูก จึงยกราชสมบัติบ้านเมืองให้ครอบครอง
เมื่อพระกุมารได้ครองราชย์แล้ว เจ้าเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาขออยู่ภายใต้ ร่มบารมี แม้พวกพญาครุฑ พญานาค พญาหงส์ เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ เช่น ช้าง ม้า เสือ สิงห์ กระทิง แรด ลงไปถึงกบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ผึ้ง ต่อ แตน มด ปลวก ต่างก็พากันมาถวายตัวเป็นบริวารจนหมดสิ้น ทำความไม่พอใจให้พญาแถนเป็นยิ่งนัก พญาแถนจึงไม่ยอมให้พวกพญานาคลงเล่นน้ำ เป็นเหตุ ให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกลงมายังโลกมนุษย์เป็นเวลาหลายปี ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเหี่ยวเฉา ตาย มนุษย์และเหล่าสัตว์ต่างพากันเดือดร้อน จึงไปทูลให้พญาคันคากทราบ พญาคันคากจึงไปยังเมืองบาดาลถามพวกนาคดู เมื่อรู้เหตุที่ทำให้ฝนแล้งแล้ว พญาคันคากจึงยกทัพอันประกอบไปด้วยมนุษย์ และเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกขึ้นไปทำสงครามกับพวกพญาแถน
พญาคันคากกับพญาแถน ได้ต่อสู้กันด้วยอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เมื่อพญาแถน เห็นว่า จะเอาชนะพญาคันคากด้วยฤทธิ์เดชไม่ได้ จึงท้าให้ชนช้างกัน ในที่สุดพญาคันคากชนะ จึงจับพญาแถนและให้พญานาคจับมัดไว้ พญาแถนจึงขอยอมแพ้ และขอมอบถวายบ้านเมืองให้ และสัญญาว่าจะส่ง น้ำฝนลงมาให้ตามฤดูกาลดังเดิม และจะลงมาปลูกพันธุ์ข้าวทิพย์ลูกเท่ามะพร้าวให้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา พอถึงฤดูกาลทำนา ฝนก็ตกลงมายังให้ความชุ่มชื้นแก่แผ่นดินเป็นประจำทุกปี
พญาคันคาก ปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ถือศีลภาวนา สร้างบุญกุศล อยู่มิได้ขาด ทำให้ชาวประชาร่มเย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า พระองค์ทรงพระชนมายุได้แสนปีจึงสวรรคต หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชาวโลกก็ได้อาศัยหนทางที่ พระยาคันคากสร้างไว้ขึ้นไปเรียนเอาเวทย์มนต์คาถาจากพวกพญาแถน เมื่อลงมายังโลกแล้วก็ใช้คาถาอาคมที่ตนเองเรียนมาจากครูบาอาจารย์เดียวกันรบราฆ่าฟันกันล้มตายเป็นจำนวนมากต่อมาก และพวกมนุษย์ยังพากันเกียจคร้านไม่เอาใจใส่เรือกสวนไร่นา เมื่อข้าวกล้าที่พญาแถนปลูกไว้ตามที่สัญญากับพญาคันคากสุกแก่เต็มที่แล้ว ก็ไม่พากันทำยุ้งฉางไว้ใส่ มิหนำซ้ำ ยังพากันโกรธแค้นที่ให้เมล็ดข้าวเท่าลูกมะพร้าว จึงช่วยกันสับฟัน จนแตกเป็นเม็ดเล็ก เม็ดน้อย เมล็ดข้าวจึงกลายเป็นเมล็ดเล็ก ๆ ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ จากนั้นมาข้าวจึงไม่เกิดเอง มนุษย์ต้องหว่าน ไถ ปัก ดำ จึงจะได้ข้าวมากิน
เมื่อพญาแถนเห็นชาวโลกละเลยศีลธรรม ไม่ตั้ง ตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม พญาแถนจึงทำลายเส้นทางติดต่อระหว่างชาวโลกกับพวกแถนเสีย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวโลกจึงไม่อาจขึ้นไปยังเมืองฟ้าพญาแถนได้อีก
บทวิเคราะห์เรื่องพญาคันคาก ในเชิงวรรณกรรม
จุดมุ่งหมายในการประพันธ์
วรรณคดีอีสานทั่ว ๆ ไปมักไม่ปรากฏที่มาของเรื่อง ผู้แต่ง ตลอดจนความมุ่งหมายโดยชัดแจ้ง เรื่องพญาคันคาก เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมาเป็นเวลานาน สิ่งที่พอจะบ่งบอกให้ทราบได้มีเพียงชื่อผู้จาร ชื่อผู้สร้างใบลานถวายวัด วันเดือนปี ชื่อจาร ความประสงค์ที่จารและจัดสร้างใบลานถวายวัด บ่งบอกไว้ชัดเจน มูลเหตุที่นักปราชญ์แต่งหรือประพันธ์เรื่องนี้ น่าจะสันนิษฐานได้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน ซึ่งชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นนิทานชาดกเนื่องจากพญาคันคาก คือพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นคางคก บำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยเหลือมนุษย์โดยไปรบพญาแถนได้ชัยชนะพญาแถนจึงปล่อยน้ำฝนให้มนุษย์ได้ทำนา จึงเป็นวรรณกรรมเพื่อการสั่งสอนเพราะพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม
2. เพื่อใช้ในพิธีขอฝน เนื่องจากพญาคันคากเป็นวรรณกรรมที่ใช้เทศน์ในพิธีของฝนและใช้เทศน์ในพิธีการแห่บั้งไฟ การเทศน์เพื่อขอฝนมี 2 ลักษณะคือ เมื่อเกิดฝนแล้งจึงจัดพิธีเพื่อขอให้ฝนตกอีกประการหนึ่งไม่ว่าจะเกิดฝนแล้งหรือไม่ก็ตาม ก็จัดให้มีการเทศน์ก่อนเพื่อการขอล่วงหน้า จึงน่าจะสันนิษฐานว่าพญาคันคากมีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อนำไปเทศน์ในพิธีการขอฝน
3. เพื่อตอบสนองความเชื่อและตอบปัญหาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันหาคำตอบไม่ได้เพราะในอดีตชาวอีสานใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติมากกว่าเทคโนโลยีอย่างในปัจจุบัน ชาวนาใช้ควายไถนารอฝนฟ้าเพื่อการเพาะกล้า รอแสงแดดจากดวงอาทิตย์เพื่อทำให้กล้าเจริญเติบโต อีสานประสบปัญญาฝนแล้งมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้าวเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อการยังชีพและน้ำก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของเกษตรกรชาวอีสานได้แต่รอคอยด้วยความหวังโดยไม่ทราบว่าทำไมฝนยังไม่ตก บางปีฝนดีบางปีฝนแล้งพญาคันคากจึงเป็นนิทานที่เกิดขึ้นเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว
ลักษณะของวรรณกรรม เป็นวรรณกรรมประเภทนิทานชาดก แต่งเป็นลักษณะร้อยกรอง
รูปแบบตัวอักษรและอักขระ ภาษาที่ใช้ในการประพันธ์
อักษรที่ใช้จารเป็นอักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสาน อักษรที่จารนั้นจะไม่มีวรรณยุกต์ การสะกดการันต์จะเขียนแบบง่าย ๆ อักษร ร ล กล้ำ มีบ้างแต่ไม่มาก มักตัดให้สั้นลง เช่น ไกล – ไก กว้าง – ก้วง เป็นต้น
รูปแบบคำประพันธ์ใช้ฉันทลักษณ์แบบโคลงสาร หรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า “กลอนลำ” ซึ่งเป็นคำโคลงโบราณ กฎเกณฑ์ของโคลงสาร มีดังนี้
1. คณะของโคลงสาร บท หนึ่ง มี สองบาท บาทหนึ่งมี 7 คำจะรวมเป็นวรรคเดียว หรือแบ่งเป็น 2 วรรค คือวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 4 คำก็ได้ นอกจากนี้สร้อยคำเพิ่มได้อีกข้างหน้าและข้างหลัง
2. กำหนดเอก -โท บทเอก กำหนดเอก 3 ตำแหน่ง โท 2 ตำแหน่ง ส่วนบทโทกำหนดเอก 3 ตำแหน่ง และโท 3 ตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีคำสร้อยได้ทุกวรรค ข้างหน้า 2-3 คำ ข้างหลังอีก 2 คำ
ตัวอย่าง
(บทเอก) บัดนี้ จักกล่าวถึง ราชาไท้ นามมะหน่อโพธิสัตว์
พระก็ ทรงวิมาน อยู่สวรรค์เมืองฟ้า
(บทโท) มีหมู่ นารีแก้ว สาวสนมสามหมื่น
งามยิ่งย้อย แฝงเฝ้าแก่บา.
(พญาคันคาก)
บทวิเคราะห์เรื่องพญาคันคากในเชิงสังคม
1. วิถีชีวิต ชาวอีสานมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง
2. ค่านิยม ค่านิยมของสังคมที่ปรากฏในเรื่องพญาคันคาก สะท้อนให้เห็นค่านิยมของสังคม ดังนี้
- การมีลูก สังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนาต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ครอบครัวอีสานจึงนิยมมีลูกมาก รวมทั้งต้องปรนนิบัติดูแลบิดามารดาในเรื่องนี้กล่าวถึงสาวแถนที่อยู่กินกับหนุ่มเมืองชมพูแต่ไม่มีลูก เมื่อหนุ่มเมืองชมพูกลับบ้านเมืองของตนสาวแถนต้องอยู่คนเดียวไม่มีคนดูแล
- การรักษาศักดิ์ศรีของสตรี ชาวอีสานถือว่าผู้หญิงหรือผู้ชายจะอยู่กินฉันสามีภรรยาต้องให้ผู้ใหญ่รับรู้ก่อนและสู่ขอกัน ถ้าไม่ทำตามผู้หญิงจะถูกสังคมตำหนิ ในเรื่องพญาคันคาก ผู้แต่งได้กล่าวถึงค่านิยม เรื่องการรักษาศักดิ์ศรีของสตรี ตอนที่พระอินทร์อุ้มนางอุดรอุรุทีปมาแล้ว ก็ไม่นำไปให้พญาคันคาก โดยทันทีแต่จะพาไปไว้อีกห้อง ให้ถือศีลเป็นคนดี แล้วจึงไปอุ้มพญา คันคากไปหานาง
- การบวช ผู้ชายต้องบวช ทดแทนบุญคุณพ่อแม่และนิยมบวช ก่อนแต่งงาน ในเรื่องพญาคันคาก กวีได้บรรยายความรู้สึกของพญาคันคาก ว่าเป็นคนชั่วเพราะไม่ได้บวชทดแทนบุญคุณของพญาเอกราช และพระนางแก้วเทวีเสียก่อนแล้วจึงแต่งงาน
3. ความเชื่อ
- ความเชื่อเรื่องแถน เชื่อว่าแถนคือเทพแห่งฝนมีหน้าที่ควบคุมให้นาคลงเล่นน้ำ ทำให้เกิดฝนแก่มนุษย์หากแถนไม่ให้นาคลงเล่นน้ำฝน ฝนก็จะไม่ตก โลก ก็จะเกิดความ แห้งแล้งมีความทุกข์ยาก อดอยาก
- ความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ เชื่อว่าพระโพธิสัตว์คือผู้ที่จะเข้าถึงพุทธภาวะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวอีสานที่ปรากฏในเรื่องนี้คือเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ เนรมิตกายเป็นคางคก จุติลงมาเกิดในครรภ์นางมเหสีเทวี เพื่อจะบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือให้ชาวโลกหลุดพ้นภัยแล้ง
- ความเชื่อเรื่องนาค ชาวอีสานเชื่อว่าน้ำฝนเกิดจากการเล่นน้ำของนาค และเสียงฟ้าร้องเกิดจากการที่นาคเอาหางตีนาค น้ำจะกระเซ็นไปถูกเขาพระสุเมรุเกิดเสียงดัง เรียกว่าฟ้าร้อง และต่อมาก็จะทำให้ฝนตก
- ความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ฟ้าแลบ เกิดจากแสงของดวงแก้วที่เมฆขลาถือหลบหลีกพญายักษ์ เป็นต้น
- ความเชื่อเรื่องฝัน ชาวอีสานเชื่อว่าฝันนั้นสามารถบอกเหตุดีเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น เช่น พระนางแก้วเทวี ฝันว่าพระอาทิตย์ตกลงมาเข้าปากนาง ก็กลืนลงไปในท้อง ผิวเนื้อของนางจึงเหลืองดั่งทอง พญาเอกราชแก้ว่าจะได้ลูกชายที่มีบุญและได้เป็นที่พึ่ง
- ความเชื่อเรื่องพระอินทร์ เชื่อว่าพระอินทร์เป็นเทพที่ทรงความดีคอยช่วยเหลือผู้มีบุญ คือพระโพธิสัตว์ เช่น ช่วยสร้างปราสาทให้พญาคันคาก
- ความเชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์ จากเรื่องของพญาคันคาก สรุปได้ว่ามีความเชื่อเรื่องสวรรค์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพและเทวดา เมื่อยังมีชีวิต ถ้าได้ประกอบกรรมดี ความดีนั้นก็จะส่งผลให้เกิดเป็นเทพเทวดาอยู่ในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ส่วนความเชื่อเรื่องบาปและนรกนั้นจะอยู่คู่กัน
4. วัฒนธรรม วัฒนธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพญาคันคาก มี ดังนี้
- วัฒนธรรมการกินอาหาร จะเห็นว่าชาวอีสาน รับประทานอาหารด้วยมือ ส่วนใหญ่รับประทานข้าวเหนียว ภาชนะที่ใส่อาหาร จะเรียกว่า “พา” ประเภทอาหารที่ทำ มีลาบ ก้อย ปิ้ง หมก ต้ม จากประเภทอาหารที่ปรากฏก็ทำให้ทราบว่าต้องรับประทานกับข้าวเหนียวแน่นอน
- วัฒนธรรมการกินหมาก สังคมอีสานจะกินเป็นอาหารว่างขบเคี้ยวเล่น หรือ อาจจะกินหลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว เช่น พญาเอกราชและพระนางแก้วเทวี รับประทานอาหารเสร็จแล้วก็กินหมาก
5. ประเพณีและพิธีกรรมที่ที่เกี่ยวข้อง
- ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือน 6
ชาวอีสานมีความเชื่อว่า การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อเป็นการเตือนพญาแถนให้ทราบว่าชาวบ้านชาวเมืองกำลังเดือนร้อน ต้องการน้ำฝนเพื่อการปลูกพืชและถึงฤดูกาลทำนาแล้ว ชาวอีสานจึงต้องทำบั้งไฟ จุดให้พุ่งขึ้นไปบนฟ้าเสมือนหนึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับพญาแถน
- พิธีบายศรีสู่ขวัญ ในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญ ตอนที่พญาเอกราช ยกทัพไปต่อสู้กับพญาแถน แล้วได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นกลับลงมายังโลกมนุษย์ พระราชบิดาก็ทำพิธีบายศรี สู่ขวัญให้กับพญาเอกราชและบริวาร เป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว
6. คุณค่าทางสังคม
- การเมืองและการปกครอง รูปแบบการปกครองเป็นแบบนายกับไพร่ มีผู้ปกครองเป็นธรรมราชาตามฮีตคอง ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติของคนตามวัยและฐานะ เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความสุข ความเจริญ
- อาชีพ อาชีพหลักของชาวอีสานคือการทำนา การทำนาต้องอาศัยน้ำฝนลักษณะของฝนตกไม่สม่ำเสมอบางปีน้อย บางปีมาก บางปีก็ท่วม เมื่อฝนตกดี สม่ำเสมอเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ชาวอีสานก็มีความอุดมสมบูรณ์เม็ดข้าวที่ได้ก็เม็ดใหญ่ เมื่อฝนแล้งเม็ดข้าวก็เล็กไม่สมบูรณ์เพราะฝนทิ้งช่วงต้นกล้าเกิดการชะงักการเจริญเติบโต และอีสานนั้นมีสภาพแล้งมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานเชื่อว่าเดิมคนอีสานสามารถติดต่อกับแถนได้ ปัจจุบันติดต่อไม่ได้เพราะชาวอีสานประพฤติปฏิบัติสิ่งที่แถนไม่พอใจ อีสานจึงประสบความแห้งแล้ง จึงพากันจัดพิธีบวงสรวงอ่อนน้อมต่อแถนต่าง ๆ มากมายเพื่อให้แถนพอใจ ชาวอีสานจะได้ทำนามีข้าวกิน
- สิ่งก่อสร้าง สังเกตได้ว่าสิ่งก่อสร้างในเรื่องพญาคันคาก ได้กล่าวถึงปราสาทเสาเดียว และมักจะก่อด้วยหินศิลาแลง มีขนาดใหญ่โตสวยงาม น่าจะสันนิษฐานว่ากวีได้มาจากสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ บริเวณภาคอีสานนั้นจะพบปราสาทหินต่าง ๆ มากมายที่ใหญ่โตและสวยงามมาก เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น
7. หลักธรรมคำสอนที่ปรากฏในเรื่องพญาคันคาก
- หลักธรรมเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรม ในเรื่องนี้ได้อธิบายถึงความเชื่อเรื่องการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วไว้อย่างชัดเจน เพราะบุคคลเชื่อว่าผลของการกระทำอันเกิดจากการทำกรรมดีนั้นสามารถส่งเสริมให้ได้รับความสำเร็จในชีวิตทุกอย่าง และผลที่เกิดจากกรรมชั่วทำให้ชีวิตได้รับความทุกข์ เช่น การได้ครองบ้านครองเมืองก็ขึ้นอยู่กับเรื่องของบุญกรรม ดังที่พญาเอกราชกล่าวแก่พญาคันคากว่า …บุญเฮามีซิได้นั่งแท่นแก้ว คองบ้านแต่งเมืองเจ้าเอย. หมายถึง ถ้าเรามีบุญญาธิการจะได้ปกครองบ้านเมือง และการจะมีคู่ครองได้อย่างสมใจขึ้นอยู่กับผลบุญทุกชาติทุกภพมาส่งเสริมจึงจะสมประสงค์หรือการที่พระอินทร์มาเนรมิตปราสาทแก้วให้นั้น ก็เพราะผลบุญแต่ชาติปางก่อนของพญาคันคากที่ได้รักษาศีลห้าทำบุญทำทาน
- หลักกุศลกรรม คือ รู้จักประพฤติตน มีความพากเพียร สำรวมกาย วาจา และใจ ดังที่พญาคันคากได้รับฟังพระราชบิดาสอนว่า จงรู้จักเจียมตัว ไม่พูดจาโอ้อวด หมั่นเพียรในการทำบุญ คนทำดีนั้นไม่ต้องโอ้อวด คนดีไม่ว่าจะตกอยู่ที่ใด ค่าของความดีก็ยังเหมือนเดิม ศีลห้า ศีลแปด ความกตัญญูและการทำทานในเรื่องนี้ได้กล่าวถึงในลักษณะที่ผู้ใดได้ปฏิบัติจะได้รับความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า พญาคันคากทรงสั่งสมบุญบารมีและสั่งสอนชาวโลกให้ทำบุญทำทานรักษาศีลจนส่งผลให้ชมพูทวีปเต็มไปด้วยความร่มเย็นเป็นสุขและได้สอนพญาแถนหลังรบชนะ
- หลักสัจธรรม คือ ไตรลักษณ์ ซึ่งได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มนุษย์ไม่ควรยึดมั่นในทุกสิ่ง มนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิด อย่างเช่น วรรณกรรมเรื่องนี้ที่พญาเอกราช และนางสีดาแม้มีอายุอยู่ถึงแสนปีในที่สุดก็ต้องตาย
- หลักการครองเรือน ซึ่งปรากฏตอนพญาคันคาก สอนแถนว่าอย่าทะเลาะกันแต่ถ้าหากมีปากเสียงกันหากสามีโมโหด่าว่าให้ภรรยาเงียบไว้อย่าได้โต้เถียง
- ความกตัญญูกตเวที เช่น ตอนที่พญาคันคากทูลขอให้พญาเอกราชผู้เป็นบิดาหาพระชายาให้ พญาคันคากก็ได้ระลึกถึงพระคุณบิดามารดา นอกจากนี้ยังสอนแถนให้รู้จักบุญคุณของเมืองมนุษย์ที่ตนเคยเกิด และได้สร้างบุญจนได้เกิดเป็นแถน
- หลักทศพิธราชธรรม คือ หลักธรรมสำหรับการปกครองของพระราชา 10 ประการ ได้แก่ ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติตามศีล 5 การรู้จักเสียสละ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การรู้จักมีเมตตาต่อสัตว์และมนุษย์ การมีสัจจะ เป็นต้น ตัวอย่างในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้กล่าวถึงเรื่องการมีสัจจะ ตอนที่พญาแถนได้สัญญากับพญาเอกราชหลังจากที่รบแพ้ว่าจะยอมส่งน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์ดังเช่นทุกปี และพญาแถนก็ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ในเรื่องนี้พญาเอกราชปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ทำให้ราษฎรมีแต่ความสุข ในสังคมปัจจุบันถ้าหากบุคคลใดได้นำเอาหลักทศพิธราชธรรมมาประพฤติปฏิบัติก็จะทำให้บุคคลนั้นประสบแต่ความสุข ความเจริญ
- ความสามัคคี พญาคันคากเป็นผู้ประกาศให้คนและสัตว์รวมตัวกันสร้างถนนหนทาง จับอาวุธขึ้นไปสู้รบกับพญาแถนที่สวรรค์เทวโลก จนได้รับชัยชนะและมีฝนตกลงมายังโลกมนุษย์นั้น เป็นเพราะความสามัคคี ความพร้อมใจกัน ท่านผู้ประพันธ์ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้สังคมชาวอีสานจะดำรงชีพอยู่ได้เพราะการพึ่งพาธรรมชาติ ถ้าหากทุกคนในสังคมร่วมมือร่วมแรง ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติคือ ฝนแล้งก็จะบรรเทาเบาบางลงได้
บทสรุป
คุณค่าที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรม
1. ทำให้ได้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนอีสานในสมัยก่อน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. สามารถนำข้อคิด คติธรรมต่าง ๆ ในวรรณกรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
3. ได้รับความรู้ในด้านขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย นอกจากนี้ยังให้ความเพลิดเพลินในการอ่านวรรณกรรม เพราะวรรณกรรมได้แทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้
4. ทำให้วรรณกรรมไม่สูญหายไปจากสังคมเร็วจนเกินไป
5. ทำให้คงคุณค่าของเอกลักษณ์ของไทย และของท้องถิ่นไว้ได้นาน
นิทานพื้นบ้านอีสาน เรื่อง พญาคันคาก ถือเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนอีสาน ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
**************
ข้อมูลอ้างอิง
เกษียร มะปะโม. ลำนำท้าวพญาคันคาก. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ, 2551.
คุณช่วย ปิยวิทย์. วรรณกรรมท้องถิ่น. นครราชสีมา : หมวดวิชาภาษาไทย โรงเรียนสุรนารีวิทยา, 2536.
ธวัช ปุณโณทก. วรรณกรรมอีสาน : วรรณกรรม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2537.
ประคอง นิมมานเหมินทร์. นิทานพื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
วรพล ผลคำ. การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมในนิทานพื้นบ้านอีสาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.
สมชัย ฟักสุวรรณ์. ลำเรื่องพระยาคันคาก. นครราชสีมา : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา, ม.ป.ป.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. การสัมมนาทางวิชาการเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ม.ป.ป.
สุขฤดี เอี่ยมบุตรลบ. การศึกษาวรรณกรรมอีสานเรื่อง พญาคันคาก. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.
ปัจจุบันความบันเทิง และความก้าวหน้าทางวิทยาการ ทำให้มนุษย์สร้างสิ่งที่ให้ความ จึงมีผู้นำเอานิทานพื้นบ้านมาสร้างเป็นภาพยนตร์ โทรทัศน์ ในรูปแบบของการเสนอคติธรรมรูปแบบใหม่ เพื่อสอดคล้องกับความเจริญทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน นอกจากนี้นิทานพื้นบ้านยังมีความสำคัญ ต่อการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะนิทานพื้นบ้านได้แทรกวิถีชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ของชาวบ้านไว้ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมพื้นบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าบทบาทของนิทานพื้นบ้าน ในปัจจุบันจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี
นิทานพื้นบ้านอีสาน เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของสังคมชาวอีสานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชนะภัยธรรมชาติ คือ ความแห้งแล้ง การอพยพย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัย ความเชื่อและความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา การยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญา เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นที่จดจำสืบทอดกันมาจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง หากเรื่องราวดังกล่าวไม่ได้รับการสืบทอด หรือบันทึกไว้ มรดกภูมิปัญญาเหล่านี้ก็จะหายไปจากสังคม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน
ความหมายของนิทานพื้นบ้าน
คำว่า นิทาน หมายถึง เรื่องที่เล่ากันมา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 588)
นิทานถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ กล่าวคือ มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วยวิธีการจดจำและเล่าสืบต่อกันมา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้แล้ว ดังนั้น นิทานจึงเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและความพอใจทั้งผู้เล่าและผู้ฟัง ซึ่งนิทานเหล่านี้จะปรากฏในสังคมพื้นบ้านท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย จึงเรียกว่า “นิทานพื้นบ้าน”
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
1. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา เป็นภาษาร้อยแก้ว ไม่ใช่ร้อยกรอง
2. เล่ากันด้วยปากต่อปากสืบมาเป็นเวลาช้านาน แต่ต่อมาอาจใช้การเขียนขึ้นตามเค้าเดิมที่เคยเล่าด้วยปากเปล่า
3. ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมเป็นใคร อ้างแต่ว่าเป็นของเก่า
ประเภทนิทานพื้นบ้าน นิยมแบ่งตามรูปแบบของนิทาน ดังนี้
1. เทพนิยาย เป็นนิทานที่แพร่หลายมากที่สุด ลักษณะที่สำคัญของเทพนิยาย คือ ตัวละครจะต้องผจญภัย มีของวิเศษ หรือมีปาฏิหาริย์มากมาย ตัวละครมักเป็นเจ้าหญิง เจ้าชาย
2. นิทานชีวิต เป็นนิทานที่เชื่อว่าเป็นความจริง
3. นิทานวีรบุรุษ เป็นนิทานที่กล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นวีรบุรุษของท้องถิ่น โดยเชิดชูในเรื่องความกล้าหาญ ความสามารถในการปกครองบ้านเมือง
4. นิทานประจำถิ่น เป็นนิทานที่เกี่ยวข้องกับชื่อสถานที่ มักกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสถานที่ ความเชื่อ เรื่องลึกลับ ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
5. นิทานอธิบายเหตุ เป็นนิทานที่พยายามอธิบายสิ่งที่มนุษย์สงสัยและหาคำตอบไม่ได้
6. ตำนานและเทวปกรณ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรม ในสมัยโบราณ
7. นิทานสัตว์ เป็นนิทานที่มีสัตว์เป็นตัวเอก และเป็นตัวจำลองพฤติกรรมของมนุษย์
8. นิทานมุขตลก เป็นเรื่องตลกเพื่อความสนุกสนานและได้แง่คิด
9. นิทานคติ เป็นนิทานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดคำสอน เช่น การทำดี
10. นิทานเข้าแบบ เป็นนิทานที่มีแบบสร้างพิเศษ เช่น สามารถเล่าต่อกันเป็นลูกโซ่
ตัวละครในนิทานพื้นบ้าน
ตัวละคร อาจเป็นเทวดา ผี มนุษย์ หรือสัตว์ก็ได้ จุดมุ่งหมายของตัวละคร คือต้องการให้แง่คิดแก่ผู้ฟังในสิ่งดีและไม่ดี
บทบาทของนิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านที่เล่า ๆ สืบต่อกันมา มีบทบาท ดังต่อไปนี้
1. เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน ทั้งผู้เล่าและผู้ฟังจะได้รับความเพลิดเพลิน
2. เพื่อจุดมุ่งหมายแฝงเร้นแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่ปรารถนาของสังคมเพื่อให้สังคมนั้น ๆ ได้นำไปประพฤติปฏิบัติ เช่น กรรมและกฎแห่งกรรม ความกตัญญูกตเวที การระมัดระวังคำพูด ความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นต้น
3. เพื่อการศึกษา เป็นเรื่องที่เน้นให้เห็นความสำคัญของการศึกษา
4. เพื่อเหตุผลในการประกอบพิธีกรรม ให้เห็นความสำคัญของพิธีกรรมว่าพิธีกรรมที่สังคมประพฤติปฏิบัติ นั้น มีความสำคัญต่อชุมชนอย่างไร
5. เพื่อระบายความเก็บกดต่าง ๆ
6. เพื่อบันทึกประเพณี ศาสนา คติความเชื่อ
นิทานพื้นบ้าน เรื่องพญาคันคาก (คางคก)
ที่มาของเรื่อง เชื่อกันว่าเป็นเรื่องชาดก และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อใช้ในพิธีขอฝน
ต้นฉบับ เป็นคัมภีร์ใบลานได้มาจากวัดโจดนาห่อม ต. คลีกลิ้ง อ. ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2535
เรื่องย่อ
พระนางแก้วเทวี มเหสีแห่งพญาเอกราชเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณเหลืองอร่ามดั่งทองคำ แต่ว่ามีผิวหนังดุจคางคก และในวันที่พระกุมารประสูติ เกิดอัศจรรย์ ขึ้นบนพื้นโลก ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เปรี้ยงปร้าง ลมพายุพัดต้นไม้หักล้มระเนระนาด เสียงดังสนั่นหวั่นไหวราวกับว่าโลกจะถล่มทลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญลงมาเกิด พระยาเอกราชได้จัดหาหญิงสาว ที่มีลักษณะดี เช่น มีถันเต่งตึงกลมงาม มาเป็นแม่เลี้ยงนางนมแก่พระกุมาร เมื่อพระกุมารเจริญวัยเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ก็คิดอยากจะได้คู่ครอง และอยากได้ปราสาทเสาเดียวไว้เป็นที่ประทับ จึงเข้าเฝ้าและทูลขอให้ พระบิดาช่วย ฝ่ายบิดาเห็นว่าพระโอรสของตนมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างไปจากคนทั่วไป คงไม่มีหญิงใดปรารถนาจะได้เป็นคู่ครอง จึงทรงบอกให้พระกุมารเลิกล้มความคิดเช่นนั้นเสียโดยให้เหตุผลว่าพระกุมารมีรูปร่างอัปลักษณ์ ทำให้พระกุมารเสียพระทัยยิ่งนัก
ต่อมาในกลางดึกสงัดของคืนวันหนึ่ง พระกุมาร จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนเคยได้สร้าง สมบุญบารมีมา ก็ขอให้สำเร็จดังความปรารถนาด้วยเถิด ด้วยแรงอธิษฐานทำให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้างขึ้น พระอินทร์จึงลงมาเนรมิตปราสาทเสาเดียวอันงดงามหาที่เปรียบไม่ได้ พร้อมด้วยข้าทาสบริวาร เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยทิพย์ปานประหนึ่งเมืองสวรรค์ และยังได้เอานางแก้วจากอุดรกุรุทวีปมามอบให้เป็นคู่ครอง ก่อนจาก ได้เนรมิตพระกุมาร ให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พญาเอกราชเห็นประจักษ์ในบุญบารมีของลูก จึงยกราชสมบัติบ้านเมืองให้ครอบครอง
เมื่อพระกุมารได้ครองราชย์แล้ว เจ้าเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาขออยู่ภายใต้ ร่มบารมี แม้พวกพญาครุฑ พญานาค พญาหงส์ เหล่าสัตว์น้อยใหญ่ เช่น ช้าง ม้า เสือ สิงห์ กระทิง แรด ลงไปถึงกบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก ผึ้ง ต่อ แตน มด ปลวก ต่างก็พากันมาถวายตัวเป็นบริวารจนหมดสิ้น ทำความไม่พอใจให้พญาแถนเป็นยิ่งนัก พญาแถนจึงไม่ยอมให้พวกพญานาคลงเล่นน้ำ เป็นเหตุ ให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกลงมายังโลกมนุษย์เป็นเวลาหลายปี ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเหี่ยวเฉา ตาย มนุษย์และเหล่าสัตว์ต่างพากันเดือดร้อน จึงไปทูลให้พญาคันคากทราบ พญาคันคากจึงไปยังเมืองบาดาลถามพวกนาคดู เมื่อรู้เหตุที่ทำให้ฝนแล้งแล้ว พญาคันคากจึงยกทัพอันประกอบไปด้วยมนุษย์ และเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกขึ้นไปทำสงครามกับพวกพญาแถน
พญาคันคากกับพญาแถน ได้ต่อสู้กันด้วยอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เมื่อพญาแถน เห็นว่า จะเอาชนะพญาคันคากด้วยฤทธิ์เดชไม่ได้ จึงท้าให้ชนช้างกัน ในที่สุดพญาคันคากชนะ จึงจับพญาแถนและให้พญานาคจับมัดไว้ พญาแถนจึงขอยอมแพ้ และขอมอบถวายบ้านเมืองให้ และสัญญาว่าจะส่ง น้ำฝนลงมาให้ตามฤดูกาลดังเดิม และจะลงมาปลูกพันธุ์ข้าวทิพย์ลูกเท่ามะพร้าวให้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา พอถึงฤดูกาลทำนา ฝนก็ตกลงมายังให้ความชุ่มชื้นแก่แผ่นดินเป็นประจำทุกปี
พญาคันคาก ปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ถือศีลภาวนา สร้างบุญกุศล อยู่มิได้ขาด ทำให้ชาวประชาร่มเย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า พระองค์ทรงพระชนมายุได้แสนปีจึงสวรรคต หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชาวโลกก็ได้อาศัยหนทางที่ พระยาคันคากสร้างไว้ขึ้นไปเรียนเอาเวทย์มนต์คาถาจากพวกพญาแถน เมื่อลงมายังโลกแล้วก็ใช้คาถาอาคมที่ตนเองเรียนมาจากครูบาอาจารย์เดียวกันรบราฆ่าฟันกันล้มตายเป็นจำนวนมากต่อมาก และพวกมนุษย์ยังพากันเกียจคร้านไม่เอาใจใส่เรือกสวนไร่นา เมื่อข้าวกล้าที่พญาแถนปลูกไว้ตามที่สัญญากับพญาคันคากสุกแก่เต็มที่แล้ว ก็ไม่พากันทำยุ้งฉางไว้ใส่ มิหนำซ้ำ ยังพากันโกรธแค้นที่ให้เมล็ดข้าวเท่าลูกมะพร้าว จึงช่วยกันสับฟัน จนแตกเป็นเม็ดเล็ก เม็ดน้อย เมล็ดข้าวจึงกลายเป็นเมล็ดเล็ก ๆ ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ จากนั้นมาข้าวจึงไม่เกิดเอง มนุษย์ต้องหว่าน ไถ ปัก ดำ จึงจะได้ข้าวมากิน
เมื่อพญาแถนเห็นชาวโลกละเลยศีลธรรม ไม่ตั้ง ตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม พญาแถนจึงทำลายเส้นทางติดต่อระหว่างชาวโลกกับพวกแถนเสีย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวโลกจึงไม่อาจขึ้นไปยังเมืองฟ้าพญาแถนได้อีก
บทวิเคราะห์เรื่องพญาคันคาก ในเชิงวรรณกรรม
จุดมุ่งหมายในการประพันธ์
วรรณคดีอีสานทั่ว ๆ ไปมักไม่ปรากฏที่มาของเรื่อง ผู้แต่ง ตลอดจนความมุ่งหมายโดยชัดแจ้ง เรื่องพญาคันคาก เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมาเป็นเวลานาน สิ่งที่พอจะบ่งบอกให้ทราบได้มีเพียงชื่อผู้จาร ชื่อผู้สร้างใบลานถวายวัด วันเดือนปี ชื่อจาร ความประสงค์ที่จารและจัดสร้างใบลานถวายวัด บ่งบอกไว้ชัดเจน มูลเหตุที่นักปราชญ์แต่งหรือประพันธ์เรื่องนี้ น่าจะสันนิษฐานได้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน ซึ่งชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นนิทานชาดกเนื่องจากพญาคันคาก คือพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นคางคก บำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยเหลือมนุษย์โดยไปรบพญาแถนได้ชัยชนะพญาแถนจึงปล่อยน้ำฝนให้มนุษย์ได้ทำนา จึงเป็นวรรณกรรมเพื่อการสั่งสอนเพราะพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม
2. เพื่อใช้ในพิธีขอฝน เนื่องจากพญาคันคากเป็นวรรณกรรมที่ใช้เทศน์ในพิธีของฝนและใช้เทศน์ในพิธีการแห่บั้งไฟ การเทศน์เพื่อขอฝนมี 2 ลักษณะคือ เมื่อเกิดฝนแล้งจึงจัดพิธีเพื่อขอให้ฝนตกอีกประการหนึ่งไม่ว่าจะเกิดฝนแล้งหรือไม่ก็ตาม ก็จัดให้มีการเทศน์ก่อนเพื่อการขอล่วงหน้า จึงน่าจะสันนิษฐานว่าพญาคันคากมีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อนำไปเทศน์ในพิธีการขอฝน
3. เพื่อตอบสนองความเชื่อและตอบปัญหาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันหาคำตอบไม่ได้เพราะในอดีตชาวอีสานใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติมากกว่าเทคโนโลยีอย่างในปัจจุบัน ชาวนาใช้ควายไถนารอฝนฟ้าเพื่อการเพาะกล้า รอแสงแดดจากดวงอาทิตย์เพื่อทำให้กล้าเจริญเติบโต อีสานประสบปัญญาฝนแล้งมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้าวเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อการยังชีพและน้ำก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของเกษตรกรชาวอีสานได้แต่รอคอยด้วยความหวังโดยไม่ทราบว่าทำไมฝนยังไม่ตก บางปีฝนดีบางปีฝนแล้งพญาคันคากจึงเป็นนิทานที่เกิดขึ้นเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว
ลักษณะของวรรณกรรม เป็นวรรณกรรมประเภทนิทานชาดก แต่งเป็นลักษณะร้อยกรอง
รูปแบบตัวอักษรและอักขระ ภาษาที่ใช้ในการประพันธ์
อักษรที่ใช้จารเป็นอักษรไทยน้อยและอักษรธรรมอีสาน อักษรที่จารนั้นจะไม่มีวรรณยุกต์ การสะกดการันต์จะเขียนแบบง่าย ๆ อักษร ร ล กล้ำ มีบ้างแต่ไม่มาก มักตัดให้สั้นลง เช่น ไกล – ไก กว้าง – ก้วง เป็นต้น
รูปแบบคำประพันธ์ใช้ฉันทลักษณ์แบบโคลงสาร หรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า “กลอนลำ” ซึ่งเป็นคำโคลงโบราณ กฎเกณฑ์ของโคลงสาร มีดังนี้
1. คณะของโคลงสาร บท หนึ่ง มี สองบาท บาทหนึ่งมี 7 คำจะรวมเป็นวรรคเดียว หรือแบ่งเป็น 2 วรรค คือวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 4 คำก็ได้ นอกจากนี้สร้อยคำเพิ่มได้อีกข้างหน้าและข้างหลัง
2. กำหนดเอก -โท บทเอก กำหนดเอก 3 ตำแหน่ง โท 2 ตำแหน่ง ส่วนบทโทกำหนดเอก 3 ตำแหน่ง และโท 3 ตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีคำสร้อยได้ทุกวรรค ข้างหน้า 2-3 คำ ข้างหลังอีก 2 คำ
ตัวอย่าง
(บทเอก) บัดนี้ จักกล่าวถึง ราชาไท้ นามมะหน่อโพธิสัตว์
พระก็ ทรงวิมาน อยู่สวรรค์เมืองฟ้า
(บทโท) มีหมู่ นารีแก้ว สาวสนมสามหมื่น
งามยิ่งย้อย แฝงเฝ้าแก่บา.
(พญาคันคาก)
บทวิเคราะห์เรื่องพญาคันคากในเชิงสังคม
1. วิถีชีวิต ชาวอีสานมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง
2. ค่านิยม ค่านิยมของสังคมที่ปรากฏในเรื่องพญาคันคาก สะท้อนให้เห็นค่านิยมของสังคม ดังนี้
- การมีลูก สังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนาต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ครอบครัวอีสานจึงนิยมมีลูกมาก รวมทั้งต้องปรนนิบัติดูแลบิดามารดาในเรื่องนี้กล่าวถึงสาวแถนที่อยู่กินกับหนุ่มเมืองชมพูแต่ไม่มีลูก เมื่อหนุ่มเมืองชมพูกลับบ้านเมืองของตนสาวแถนต้องอยู่คนเดียวไม่มีคนดูแล
- การรักษาศักดิ์ศรีของสตรี ชาวอีสานถือว่าผู้หญิงหรือผู้ชายจะอยู่กินฉันสามีภรรยาต้องให้ผู้ใหญ่รับรู้ก่อนและสู่ขอกัน ถ้าไม่ทำตามผู้หญิงจะถูกสังคมตำหนิ ในเรื่องพญาคันคาก ผู้แต่งได้กล่าวถึงค่านิยม เรื่องการรักษาศักดิ์ศรีของสตรี ตอนที่พระอินทร์อุ้มนางอุดรอุรุทีปมาแล้ว ก็ไม่นำไปให้พญาคันคาก โดยทันทีแต่จะพาไปไว้อีกห้อง ให้ถือศีลเป็นคนดี แล้วจึงไปอุ้มพญา คันคากไปหานาง
- การบวช ผู้ชายต้องบวช ทดแทนบุญคุณพ่อแม่และนิยมบวช ก่อนแต่งงาน ในเรื่องพญาคันคาก กวีได้บรรยายความรู้สึกของพญาคันคาก ว่าเป็นคนชั่วเพราะไม่ได้บวชทดแทนบุญคุณของพญาเอกราช และพระนางแก้วเทวีเสียก่อนแล้วจึงแต่งงาน
3. ความเชื่อ
- ความเชื่อเรื่องแถน เชื่อว่าแถนคือเทพแห่งฝนมีหน้าที่ควบคุมให้นาคลงเล่นน้ำ ทำให้เกิดฝนแก่มนุษย์หากแถนไม่ให้นาคลงเล่นน้ำฝน ฝนก็จะไม่ตก โลก ก็จะเกิดความ แห้งแล้งมีความทุกข์ยาก อดอยาก
- ความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ เชื่อว่าพระโพธิสัตว์คือผู้ที่จะเข้าถึงพุทธภาวะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวอีสานที่ปรากฏในเรื่องนี้คือเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ เนรมิตกายเป็นคางคก จุติลงมาเกิดในครรภ์นางมเหสีเทวี เพื่อจะบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือให้ชาวโลกหลุดพ้นภัยแล้ง
- ความเชื่อเรื่องนาค ชาวอีสานเชื่อว่าน้ำฝนเกิดจากการเล่นน้ำของนาค และเสียงฟ้าร้องเกิดจากการที่นาคเอาหางตีนาค น้ำจะกระเซ็นไปถูกเขาพระสุเมรุเกิดเสียงดัง เรียกว่าฟ้าร้อง และต่อมาก็จะทำให้ฝนตก
- ความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ฟ้าแลบ เกิดจากแสงของดวงแก้วที่เมฆขลาถือหลบหลีกพญายักษ์ เป็นต้น
- ความเชื่อเรื่องฝัน ชาวอีสานเชื่อว่าฝันนั้นสามารถบอกเหตุดีเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น เช่น พระนางแก้วเทวี ฝันว่าพระอาทิตย์ตกลงมาเข้าปากนาง ก็กลืนลงไปในท้อง ผิวเนื้อของนางจึงเหลืองดั่งทอง พญาเอกราชแก้ว่าจะได้ลูกชายที่มีบุญและได้เป็นที่พึ่ง
- ความเชื่อเรื่องพระอินทร์ เชื่อว่าพระอินทร์เป็นเทพที่ทรงความดีคอยช่วยเหลือผู้มีบุญ คือพระโพธิสัตว์ เช่น ช่วยสร้างปราสาทให้พญาคันคาก
- ความเชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์ จากเรื่องของพญาคันคาก สรุปได้ว่ามีความเชื่อเรื่องสวรรค์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพและเทวดา เมื่อยังมีชีวิต ถ้าได้ประกอบกรรมดี ความดีนั้นก็จะส่งผลให้เกิดเป็นเทพเทวดาอยู่ในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ส่วนความเชื่อเรื่องบาปและนรกนั้นจะอยู่คู่กัน
4. วัฒนธรรม วัฒนธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพญาคันคาก มี ดังนี้
- วัฒนธรรมการกินอาหาร จะเห็นว่าชาวอีสาน รับประทานอาหารด้วยมือ ส่วนใหญ่รับประทานข้าวเหนียว ภาชนะที่ใส่อาหาร จะเรียกว่า “พา” ประเภทอาหารที่ทำ มีลาบ ก้อย ปิ้ง หมก ต้ม จากประเภทอาหารที่ปรากฏก็ทำให้ทราบว่าต้องรับประทานกับข้าวเหนียวแน่นอน
- วัฒนธรรมการกินหมาก สังคมอีสานจะกินเป็นอาหารว่างขบเคี้ยวเล่น หรือ อาจจะกินหลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว เช่น พญาเอกราชและพระนางแก้วเทวี รับประทานอาหารเสร็จแล้วก็กินหมาก
5. ประเพณีและพิธีกรรมที่ที่เกี่ยวข้อง
- ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือน 6
ชาวอีสานมีความเชื่อว่า การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อเป็นการเตือนพญาแถนให้ทราบว่าชาวบ้านชาวเมืองกำลังเดือนร้อน ต้องการน้ำฝนเพื่อการปลูกพืชและถึงฤดูกาลทำนาแล้ว ชาวอีสานจึงต้องทำบั้งไฟ จุดให้พุ่งขึ้นไปบนฟ้าเสมือนหนึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับพญาแถน
- พิธีบายศรีสู่ขวัญ ในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญ ตอนที่พญาเอกราช ยกทัพไปต่อสู้กับพญาแถน แล้วได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นกลับลงมายังโลกมนุษย์ พระราชบิดาก็ทำพิธีบายศรี สู่ขวัญให้กับพญาเอกราชและบริวาร เป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว
6. คุณค่าทางสังคม
- การเมืองและการปกครอง รูปแบบการปกครองเป็นแบบนายกับไพร่ มีผู้ปกครองเป็นธรรมราชาตามฮีตคอง ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติของคนตามวัยและฐานะ เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความสุข ความเจริญ
- อาชีพ อาชีพหลักของชาวอีสานคือการทำนา การทำนาต้องอาศัยน้ำฝนลักษณะของฝนตกไม่สม่ำเสมอบางปีน้อย บางปีมาก บางปีก็ท่วม เมื่อฝนตกดี สม่ำเสมอเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ชาวอีสานก็มีความอุดมสมบูรณ์เม็ดข้าวที่ได้ก็เม็ดใหญ่ เมื่อฝนแล้งเม็ดข้าวก็เล็กไม่สมบูรณ์เพราะฝนทิ้งช่วงต้นกล้าเกิดการชะงักการเจริญเติบโต และอีสานนั้นมีสภาพแล้งมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานเชื่อว่าเดิมคนอีสานสามารถติดต่อกับแถนได้ ปัจจุบันติดต่อไม่ได้เพราะชาวอีสานประพฤติปฏิบัติสิ่งที่แถนไม่พอใจ อีสานจึงประสบความแห้งแล้ง จึงพากันจัดพิธีบวงสรวงอ่อนน้อมต่อแถนต่าง ๆ มากมายเพื่อให้แถนพอใจ ชาวอีสานจะได้ทำนามีข้าวกิน
- สิ่งก่อสร้าง สังเกตได้ว่าสิ่งก่อสร้างในเรื่องพญาคันคาก ได้กล่าวถึงปราสาทเสาเดียว และมักจะก่อด้วยหินศิลาแลง มีขนาดใหญ่โตสวยงาม น่าจะสันนิษฐานว่ากวีได้มาจากสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ บริเวณภาคอีสานนั้นจะพบปราสาทหินต่าง ๆ มากมายที่ใหญ่โตและสวยงามมาก เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น
7. หลักธรรมคำสอนที่ปรากฏในเรื่องพญาคันคาก
- หลักธรรมเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่งกรรม ในเรื่องนี้ได้อธิบายถึงความเชื่อเรื่องการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วไว้อย่างชัดเจน เพราะบุคคลเชื่อว่าผลของการกระทำอันเกิดจากการทำกรรมดีนั้นสามารถส่งเสริมให้ได้รับความสำเร็จในชีวิตทุกอย่าง และผลที่เกิดจากกรรมชั่วทำให้ชีวิตได้รับความทุกข์ เช่น การได้ครองบ้านครองเมืองก็ขึ้นอยู่กับเรื่องของบุญกรรม ดังที่พญาเอกราชกล่าวแก่พญาคันคากว่า …บุญเฮามีซิได้นั่งแท่นแก้ว คองบ้านแต่งเมืองเจ้าเอย. หมายถึง ถ้าเรามีบุญญาธิการจะได้ปกครองบ้านเมือง และการจะมีคู่ครองได้อย่างสมใจขึ้นอยู่กับผลบุญทุกชาติทุกภพมาส่งเสริมจึงจะสมประสงค์หรือการที่พระอินทร์มาเนรมิตปราสาทแก้วให้นั้น ก็เพราะผลบุญแต่ชาติปางก่อนของพญาคันคากที่ได้รักษาศีลห้าทำบุญทำทาน
- หลักกุศลกรรม คือ รู้จักประพฤติตน มีความพากเพียร สำรวมกาย วาจา และใจ ดังที่พญาคันคากได้รับฟังพระราชบิดาสอนว่า จงรู้จักเจียมตัว ไม่พูดจาโอ้อวด หมั่นเพียรในการทำบุญ คนทำดีนั้นไม่ต้องโอ้อวด คนดีไม่ว่าจะตกอยู่ที่ใด ค่าของความดีก็ยังเหมือนเดิม ศีลห้า ศีลแปด ความกตัญญูและการทำทานในเรื่องนี้ได้กล่าวถึงในลักษณะที่ผู้ใดได้ปฏิบัติจะได้รับความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า พญาคันคากทรงสั่งสมบุญบารมีและสั่งสอนชาวโลกให้ทำบุญทำทานรักษาศีลจนส่งผลให้ชมพูทวีปเต็มไปด้วยความร่มเย็นเป็นสุขและได้สอนพญาแถนหลังรบชนะ
- หลักสัจธรรม คือ ไตรลักษณ์ ซึ่งได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มนุษย์ไม่ควรยึดมั่นในทุกสิ่ง มนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิด อย่างเช่น วรรณกรรมเรื่องนี้ที่พญาเอกราช และนางสีดาแม้มีอายุอยู่ถึงแสนปีในที่สุดก็ต้องตาย
- หลักการครองเรือน ซึ่งปรากฏตอนพญาคันคาก สอนแถนว่าอย่าทะเลาะกันแต่ถ้าหากมีปากเสียงกันหากสามีโมโหด่าว่าให้ภรรยาเงียบไว้อย่าได้โต้เถียง
- ความกตัญญูกตเวที เช่น ตอนที่พญาคันคากทูลขอให้พญาเอกราชผู้เป็นบิดาหาพระชายาให้ พญาคันคากก็ได้ระลึกถึงพระคุณบิดามารดา นอกจากนี้ยังสอนแถนให้รู้จักบุญคุณของเมืองมนุษย์ที่ตนเคยเกิด และได้สร้างบุญจนได้เกิดเป็นแถน
- หลักทศพิธราชธรรม คือ หลักธรรมสำหรับการปกครองของพระราชา 10 ประการ ได้แก่ ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติตามศีล 5 การรู้จักเสียสละ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การรู้จักมีเมตตาต่อสัตว์และมนุษย์ การมีสัจจะ เป็นต้น ตัวอย่างในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้กล่าวถึงเรื่องการมีสัจจะ ตอนที่พญาแถนได้สัญญากับพญาเอกราชหลังจากที่รบแพ้ว่าจะยอมส่งน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์ดังเช่นทุกปี และพญาแถนก็ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ในเรื่องนี้พญาเอกราชปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม ทำให้ราษฎรมีแต่ความสุข ในสังคมปัจจุบันถ้าหากบุคคลใดได้นำเอาหลักทศพิธราชธรรมมาประพฤติปฏิบัติก็จะทำให้บุคคลนั้นประสบแต่ความสุข ความเจริญ
- ความสามัคคี พญาคันคากเป็นผู้ประกาศให้คนและสัตว์รวมตัวกันสร้างถนนหนทาง จับอาวุธขึ้นไปสู้รบกับพญาแถนที่สวรรค์เทวโลก จนได้รับชัยชนะและมีฝนตกลงมายังโลกมนุษย์นั้น เป็นเพราะความสามัคคี ความพร้อมใจกัน ท่านผู้ประพันธ์ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้สังคมชาวอีสานจะดำรงชีพอยู่ได้เพราะการพึ่งพาธรรมชาติ ถ้าหากทุกคนในสังคมร่วมมือร่วมแรง ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติคือ ฝนแล้งก็จะบรรเทาเบาบางลงได้
บทสรุป
คุณค่าที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรม
1. ทำให้ได้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนอีสานในสมัยก่อน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. สามารถนำข้อคิด คติธรรมต่าง ๆ ในวรรณกรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
3. ได้รับความรู้ในด้านขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย นอกจากนี้ยังให้ความเพลิดเพลินในการอ่านวรรณกรรม เพราะวรรณกรรมได้แทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้
4. ทำให้วรรณกรรมไม่สูญหายไปจากสังคมเร็วจนเกินไป
5. ทำให้คงคุณค่าของเอกลักษณ์ของไทย และของท้องถิ่นไว้ได้นาน
นิทานพื้นบ้านอีสาน เรื่อง พญาคันคาก ถือเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนอีสาน ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
**************
ข้อมูลอ้างอิง
เกษียร มะปะโม. ลำนำท้าวพญาคันคาก. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ, 2551.
คุณช่วย ปิยวิทย์. วรรณกรรมท้องถิ่น. นครราชสีมา : หมวดวิชาภาษาไทย โรงเรียนสุรนารีวิทยา, 2536.
ธวัช ปุณโณทก. วรรณกรรมอีสาน : วรรณกรรม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2537.
ประคอง นิมมานเหมินทร์. นิทานพื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์คติชนวิทยาและภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
วรพล ผลคำ. การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมในนิทานพื้นบ้านอีสาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.
สมชัย ฟักสุวรรณ์. ลำเรื่องพระยาคันคาก. นครราชสีมา : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา, ม.ป.ป.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. การสัมมนาทางวิชาการเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ม.ป.ป.
สุขฤดี เอี่ยมบุตรลบ. การศึกษาวรรณกรรมอีสานเรื่อง พญาคันคาก. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.